Monday, August 22, 2022

การเมืองสองแฉก



เกาหัวแกรกๆ

เกมการเมือง หากประชาชนตามไม่ทัน กลายเป็นโง่เลยครับ

แต่ถึงจะตามทัน บางทีทำให้ดูโง่ได้เหมือนกัน

เพราะนักการเมืองสุดๆ จริงๆ

วันนี้เขาเล่นเกมในสภา เอาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๖ เป็นตัวประกัน

เสาร์ที่ผ่านมาสภาล่ม งบประมาณค้างเติ่ง ต้องพิจารณาต่อวันอังคาร

ต่างฝ่ายต่างชี้นิ้่วโทษกันใหญ่

ฝ่ายค้านบอกว่ารัฐบาลมีเจตนาจะทำให้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ไม่ผ่านสภา เพื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  จะเอาไปเป็นข้ออ้างยุบสภา

ส่วนรัฐบาลบอก ฝ่ายค้านนั่นแหละตัวดี อยู่ในห้องประชุมสภาแท้ๆ กลับไม่แสดงตนเพื่อให้สภาล่ม คนจะได้ด่ารัฐบาลว่าไม่รับผิดชอบ

ก็ว่ากันไป

ครับ…มาดูพฤติกรรมกันดีกว่า

เพราะมันชัดเจน

วานนี้ (๒๑ สิงหาคม) หมอชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่ายเป็นฉากๆ

“…ด้วยเหตุแล้วหากยุบสภาช่วงนี้มีแต่โทษไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยกับประเทศ ข้ออ้างในการยุบสภาไม่สมเหตุสมผล เหตุที่ต้องอ้างได้คือ ความขัดแย้ง และความเสียหายจากฝ่ายนิติบัญญัติ

เช่น วันที่ ๒๓ สิงหาคมนี้ จะมีการโหวตร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ในวาระ ๓  หากไม่ผ่าน เหมาะสมที่จะยุบสภา

ในประเทศไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะงบประมาณอาศัยเสียงข้างมาก ถ้าเสียงข้างมากถูกบงการมาว่าเอาช่องทางนี้ก็เป็นไปได้ทั้งหมด

ส่วนเหตุผลอื่นคือต้องการให้ตัวเองอยู่ในอำนาจได้ยาว ซึ่งเป็นเหตุผลที่อันตรายมาก เพราะตอนนี้สิ่งที่เราเป็นห่วงคือการดำรงตำแหน่งนายกฯ เกิน ๘ ปี จะไปสอดรับกลับเจตนารมณ์และจุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ

ที่บอกว่าหากให้อยู่ยาวเกิน ๘ ปีจะทำให้เกิดการผูกขาดอำนาจทางการเมืองและจะก่อวิกฤตทางการเมือง ไม่อยากให้เกิดอย่างนั้น หากยุบสภาตอนนี้เพื่อให้ตัวเองอยู่ในอำนาจรักษาการได้ แต่กฎหมายเลือกตั้งยังไม่ออก หลายคนบอกว่าให้ไปใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ก็มีกระแสที่ไม่เห็นด้วย

การออก พ.ร.ก.มาใช้ในการเลือกตั้ง ไม่ได้ใช้บังคับเช่นเดียวกับ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้งที่กฎหมายเลือกตั้งเป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ กลับให้ใช้เหมือน พ.ร.บ.

โอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ต่ออีก ๒ ปี ตามที่ พล.อ.ประวิตรพูดนั้นในเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นอย่างนี้สูงมาก ตามที่สร้างกระแสมา แต่ดูเหมือนจะออกกลางๆ คาดว่าจะลดความกดดันของภาคประชาชนได้

แต่ พล.อ.ประยุทธ์ มี ๓ แนวทางที่วิเคราะห์กัน คือ

๑.ออกด้วยอำนาจใจของ พล.อ.ประยุทธ์ แสดงความรับผิดชอบเคารพหลักนิติธรรมประกาศว่าหมดวาระ ๒.อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และ ๓.อำนาจประชาชนขับไล่ หากเป็นผม จะเลือกทางเลือกที่ ๑ เพราะเท่ และเป็นรัฐบุรุษได้เลย ไปเป็นตำแหน่งอะไรที่อยู่ในประเทศก็ได้ คนก็เคารพยกย่อง…”

ก่อนจับ “หมอชลน่าน” ขึงพืดย้อนอดีตกันสักนิดครับ 

นั่งไทม์แมชชีน ถอยหลังไปวันที่ ๒๕ พฤษภาคมที่ผ่านมา

วันนั้นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณยังไม่ผ่านวาระแรก  “หมอชลน่าน” พูดจาข่มขู่ใหญ่โต

“…ถ้าสภาไม่ให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.งบรายจ่าย จะส่งผลถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ซึ่งมีทางเลือก ๒ ทาง คือ ยุบสภา หรือลาออก

อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.งบจะไม่ผ่าน ก็สามารถใช้งบประมาณเดิม คือ พ.ร.บ.งบ ๒๕๖๕ ไปพลางก่อน เว้นแต่เป็นเรื่องงบลงทุนที่จะสร้างใหม่

ดังนั้นแผนงานโครงการต่างๆ ที่เป็นเรื่องประจำก็สามารถทำได้ต่อ แต่ไม่อนุญาตให้นำงบไปลงทุนในสิ่งที่เห็นว่าไม่ชอบ ถ้าหากปล่อยไปอาจจะกระทบต่อพี่น้องประชาชนมากกว่า

นี่เป็นทางเลือกที่จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะการไม่ให้ผ่านอาจจะเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่า แล้วปล่อยให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาจัดสรรงบประมาณแทน…”

เวลาผ่านไปร่วมๆ ๓ เดือน ทำไม “หมอชลน่าน” ถึงพลิกหน้ามือเป็นหลังเท้าได้

นี่แหละครับที่เขาเรียกว่าเกมการเมือง

๓ เดือนที่แล้ว ตะเพิดสามเวลาหลังอาหาร รัฐบาลยุบสภาได้แล้ว จะได้เลือกตั้งใหม่ เปลี่ยนให้คนอื่นเข้าไปบริหารประเทศแทน

วันนี้ กลับบอกอย่ายุบสภาช่วงนี้มีแต่โทษไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยกับประเทศ

มาดูกันครับว่า ยุบสภาช่วงนี้เป็นโทษกับใคร

เมื่อสามเดือนที่แล้วร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ยังไม่เข้าสภา แต่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ตั้งธง ใช้บัตร ๒ ใบ หาร ๑๐๐ มาตั้งแต่แรก

ทำไมเวลานั้น “หมอชลน่าน” ถึงไม่รอให้ร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ผ่านสภาก่อน แล้วค่อยสนับสนุนให้ยุบสภาในภายหลัง

ก็มันยังไม่ชัดเจน ไม่รู้สภาจะพิจารณาร่างกฎหมายเมื่อไหร่ กำขี้ดีกว่ากำตด ยุบสภาไปเลือกตั้งใหม่ถึงจะใช้กติกาเก่า ก็ยังได้ลุ้น

ต้นเดือนกรกฎาคม สภาพิจารณาร่างกฎหมายเลือกตั้ง สูตรหาร ๑๐๐ ถูกแก้ไขเป็น หาร ๕๐๐ ร้อนรนกันใหญ่ เกรงจะไม่แลนด์สไลด์

พอกลับมาสูตรหาร ๑๐๐ ตีปีกผับๆ

มันถึงได้กลับตาลปัตร

คงเพราะเห็นๆ อยู่แล้วว่าร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. สูตรหาร ๑๐๐ จะบังคับใช้ในอีกไม่นานนี้ หากยุบสภาไปเสียก่อน พรรคเพื่อไทยเสียประโยชน์แน่นอน

เพราะการเลือกตั้งต้องกลับไปใช้กติกาเดิม

เป็นโทษกับพรรคเพื่อไทยเต็มๆ

แบบนี้หรือครับที่เรียกว่าการเมืองเพื่อประชาชน

เรื่องยุบสภา ยังหรอกครับ

ฉะนั้นอย่าจินตนาการด้วยความกลัว เอาเรื่องนายกฯ  ๘ ปีมาผูก เอาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ มาเป็นตัวประกัน

มันไม่มีอะไรยุ่งยากครับ หากศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยเร็วจบเร็ว “ลุงตู่” ก็รักษาการไป หานายกฯ ใหม่ได้เมื่อไหร่ ก็กลับบ้าน

แต่เพราะคำว่า “สืบทอดอำนาจ” มันถึงได้เกิดความกลัวว่า การเมืองจะไม่เปลี่ยนขั้ว

“ลุงตู่” อยู่นานสุดได้ถึง มีนาคม ปีหน้า

หลังจากนั้นก็ไม่ง่ายแล้วครับ

ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคพลังประชารัฐ จะชนะเลือกตั้งเป็นพรรคอันดับหนึ่ง และใครจะมายืนยันได้ว่า หลังเลือกตั้งพรรคร่วมรัฐบาลจะยังเกี่ยวก้อยกันอยู่

แล้วใครบอกได้บ้างว่า ๒๕๐ ส.ว. ยังจะยืนข้าง พรรคพลังประชารัฐ

ปล่อยไปตามครรลองครับ

ใครมีหน้าที่ทำอะไรก็ทำไป

เลิกเสียทีครับ อยากได้อำนาจก็หาคนมาไล่

ถึงจะไล่เขาได้ สุดท้ายก็ถูกไล่คืน

มันไม่จบ.

The post การเมืองสองแฉก appeared first on .

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/m29Ndo3
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home