Friday, August 5, 2022

สภาจบที่หาร ๕๐๐



แต่คนที่จะมาเป็นรัฐบาล หรือฝ่ายค้านมาจากการเลือกตั้ง ส.ส.นี่ซิครับ ฉะนั้นจะบอกว่าไม่เกี่ยวกันเลยคงไม่ได้

เกมชิงไหวชิงพริบ เข้าข่ายทำลายความน่าเชื่อถือของสภาหนักเข้าไปทุกที

ตามข่าวบอกว่าสาเหตุที่ประชุมร่วมรัฐสภาล่มเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม มีสาเหตุมาจาก ส.ส.พลังประชารัฐ และ ส.ส.เพื่อไทย อยู่ในห้องประชุมกันน้อย เนื่องจากไม่ต้องการให้องค์ประชุมครบ

เพราะ ส.ส.ทั้งสองพรรคไม่ต้องการให้ใช้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อหารด้วย ๕๐๐ จึงเล่นเกมล่มสภามันซะเลย

๑๕ สิงหาคมนี้ หากพิจารณาไม่ทัน ร่างกฎหมายก็ตกไป ส่วนจะกลับไปใช้ร่างฉบับเดิมที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอจริงหรือไม่ ก็ยังเป็นปัญหาว่าใช่หรือเปล่า?

แต่…ก่อนจะไปถึงจุดนั้น คุณหมอระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ทิ้งระเบิดลูกใหญ่ บอกว่ามีคำสั่งให้ ส.ส.กลับบ้านเพื่อทำให้สภาล่ม

“…ไม่คิดว่าจะมีการเล่นเกมใต้โต๊ะ ชกใต้เข็มขัด ทำในสิ่งที่ไม่ควรจะทำ ทำให้รัฐสภาเสื่อมเสีย แต่เท่าที่ทราบคือมีพรรคร่วมรัฐบาลพรรคหนึ่งออกคำสั่งให้ ส.ส.ในพรรคเซ็นชื่อเสร็จแล้วกลับบ้านได้เลย

แต่เมื่อ ส.ส.บางคนไม่ทำ ยังอยู่ร่วมประชุม ก็ยังมีตัวแทนมาไล่ ส.ส.ให้กลับบ้าน อ้างว่านายสั่งให้กลับ มีหลายคนมาเล่าให้ฟัง

แม้กระทั่ง ส.ส.พรรคเล็กบางคนก็ยังถูกตัวแทนคนดังกล่าวมาสั่งให้กลับบ้านเช่นกัน เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่จึงทำให้ ส.ส.หายไปจำนวนมาก จนในที่สุดรัฐสภาก็ล่ม

สภาล่มไม่ได้เกิดจากเหตุสมาชิกไม่ครบแบบทั่วไป แต่เกิดจากการเล่นเกมของพรรคใหญ่อันดับหนึ่งและสอง ที่สมาชิกไม่ยอมแสดงตนร่วมประชุม มีความพยายามคว่ำการประชุมให้ได้ เพื่อที่กฎหมายลูกจะไม่สามารถมีโอกาสเข้าสภาได้ และต้องย้อนกลับไปใช้สูตรคำนวณหาร ๑๐๐ ตามร่างที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นเข้ามาในตอนแรก

การกระทำเช่นนี้ผมรับไม่ได้ ถ้ามาเล่นนอกกติกาแบบนี้ ไม่ใช่วิธีที่ลูกผู้ชายทำกัน…”

ถ้าจริงตามนี้บรรเทิงครับ!

ไม่ต้องมีสภาก็ได้มั่ง?

หน้าที่หลักของสมาชิกรัฐสภาคือ การทำหน้าที่นิติบัญญัติ

ออกกฎหมาย

วันดีคืนร้ายมีคนมาบอกว่าไม่ต้องทำหน้าที่แล้วให้กลับไปนอนบ้าน น่าจะให้กลับยาวจริงๆ

มีสภาก็ไม่อยากจะทำหน้าที่

ครั้นสภาไม่มีเพราะถูกยึดไป ก็โอดครวญไม่มีสนามให้เล่น

ตกลงจะเอาไง?

เข้าใจครับว่านักการเมืองอยากได้กฎหมายเลือกตั้งที่ตรงใจตัวเองมากที่สุด แต่การออกกฎหมายไม่ใช่เล่นขายของ ลมเพลมพัดไม่ได้ 

ที่จริงมันผิดตั้งแต่แก้รัฐธรรมนูญแล้ว ระบบเลือกตั้งหากไม่ดีควรจะมีการศึกษาข้อดีข้อเสียให้รอบคอบก่อน จากนั้นค่อยหาวิธีแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งสะท้อนความต้องการของประชาชนมากที่สุด

ไม่ใช่ให้ถูกใจนักการเมืองมากที่สุด

ประเทศไทยผ่านการเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้น ๒๘ ครั้ง

ผ่านระบบเลือกตั้งมาแล้วนับสิบวิธี

ในทางทฤษฎี การเลือกตั้่งบ่อยๆ น่าจะทำให้ได้ ส.ส.ที่มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะประชาชนได้เรียนรู้ว่าควรเลือกคนแบบไหนเป็นผู้แทนฯ

แต่ในทางปฏิบัติ ก็อย่างที่เห็น

ทีนี้มาถึงอีกปัญหา หากร่างกฎหมายเลือกตั้งตกไปเพราะพิจารณาไม่ทันในวันที่ ๑๕ สิงหาคม จะกลับไปใช้กฎหมายฉบับไหน?

คำอธิบายของ “คำนูณ สิทธิสมาน” สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) น่าจะชัดเจนที่สุด

“…เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องคือมาตรา ๑๓๒ (๑) ไม่ได้เขียนไว้อย่างนี้ “….ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน….. ถ้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอตามมาตรา ๑๓๑”

ไม่มีคำว่า “ร่างของคณะรัฐมนตรี” เลยนะ มีแต่ “ร่างที่เสนอตามมาตรา ๑๓๑” เท่านั้น ทีนี้ก็ต้องย้อนขึ้นไปดูมาตรา ๑๓๑ ชัดๆ

มาตรา ๑๓๑ กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าสามารถเสนอได้ ๒ ทาง คือ

 (๑) คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

 (๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ทั้งนี้โดยข้อเท็จจริง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้มีการเสนอเข้ามาทั้งหมดถึง ๔ ร่าง แม้จะมีหลักการใกล้เคียงกัน แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยย่อมมีความแตกต่างกัน

๑.ร่างที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ตามข้อเสนอของ กกต.

๒.ร่างที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย

๓.ร่างที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาล

๔.ร่างที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล

ร่างที่ ๑ เป็นร่างตามมาตรา ๑๓๑ (๑) ร่างที่ ๒, ๓ และ ๔ เป็นร่างตามมาตรา ๑๓๑ (๒) โดยทั้ง ๔ ร่างล้วนเป็น “ร่างที่เสนอตามมาตรา ๑๓๑” ตามความตอนท้ายในมาตรา ๑๓๒ (๑) ทั้งสิ้น

รัฐสภาพิจารณาทั้ง ๔ ร่างพร้อมกันในวาระที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และมีมติรับหลักการทั้ง ๔ ร่าง

และแม้รัฐสภาจะมีมติให้ใช้ร่างที่ ๑ เป็นร่างหลักในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการ แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในมาตรา ๑๓๒ (๑) กรณีรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วันแต่ประการใด

ถ้ารัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วัน แล้วที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๒ (๑) ว่าให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตาม “ร่างที่เสนอตามมาตรา ๑๓๑” จะเกิดคำถามใหญ่ขึ้นมาทันทีว่า…ในกรณีนี้คือร่างไหนใน ๔ ร่าง? ด้วยเหตุผลใด?

เท่าที่สอบถามในประเด็นนี้ มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๖๓ ข้อ ๑๐๑ เขียนรายละเอียดไว้แล้วว่า ในกรณีนี้ให้ถือว่าร่างที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาคือร่างหลักในการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ…”

ก็หาร ๕๐๐ นั่นแหละครับ.

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/rOKi7qo
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home