Tuesday, September 20, 2022

เมื่อบาทอ่อนยวบและ เงินสำรองฯ หดตัว…



และเงินสำรองฯ ของประเทศมีปัญหาหรือเปล่า

อีกทั้งยังมีประเด็นสงสัยว่า หากเราขึ้นดอกเบี้ยช้าและน้อยกว่าสหรัฐฯ จะเกิดช่องว่างที่ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นขณะที่ไทยเรากำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด, สงครามยูเครนและการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯ กับตะวันตกด้านหนึ่ง และรัสเซียกับจีนอีกด้านหนึ่ง

คุณอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าผ่านระดับ 37.00 บาท

เป็นผลจากปัจจัยต่างประเทศทั้งจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าเดิม หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง และ risk sentiment ของค่าเงินในกลุ่ม EM Asia ที่ปรับแย่ลงหลัง

อีกทั้งค่าเงินหยวนก็ปรับอ่อนค่าขึ้นเหนือระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ.

รวมถึงยังมีปัจจัยเฉพาะของไทยจากราคาทองคำที่ปรับลดลง ส่งผลให้มีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.จากกลุ่มบริษัททองคำเพิ่มขึ้น

ธปท.ยืนยันว่าได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด

และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจจริง

โดยแนะนำว่าภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

ประเด็นเรื่องทุนสำรองลดลง ก็มีคำชี้แจงจากคุณดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ที่บอกว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนสูงขึ้น จากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิมในระยะถัดไป

โดยนับแต่ต้นปี เงินดอลลาร์ สรอ.ปรับแข็งค่าไปแล้วกว่า 14.6% เป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้สกุลเงินภูมิภาค รวมทั้งเงินบาทปรับอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา

แต่แบงก์ชาติยังไม่พบสัญญาณการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ

นับตั้งแต่ต้นปี นักลงทุนต่างชาติยังมีฐานะซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.6 แสนล้านบาท (เป็นการซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.6 แสนล้านบาท และขายสุทธิเล็กน้อยในตลาดพันธบัตรที่ 700 ล้านบาท)

เงินสำรองฯ ของไทยลดลงเพราะอะไร?

แบงก์ชาติบอกว่าการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ สรอ.ยังส่งผลให้มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ (เงินสำรองฯ) ของหลายประเทศปรับลดลงเช่นกัน

สำหรับไทย เงินสำรองฯ ปรับลดลงจาก 2.78 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงต้นปี มาอยู่ที่ระดับ 2.4 แสนล้าน

เป็นผลจากการตีมูลค่าเงินสำรองฯ ที่อยู่ในสินทรัพย์หลายสกุลเงินให้เป็นสกุลดอลลาร์ สรอ.เป็นสำคัญ

เมื่อเงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นก็ส่งผลให้สินทรัพย์สกุลอื่นเมื่อตีเป็นรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่าลดลง

ซึ่งโดยปกติ ในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.เคลื่อนไหวผันผวนสูง จะเห็นมูลค่าเงินสำรองฯ ผันผวนสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันว่าประเทศไทยยังมีฐานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งจากระดับเงินสำรองฯ ที่อยู่ที่ประมาณ 2.4 แสนล้าน ดอลลาร์ สรอ.

หรือคิดเป็น 48% ของ GDP

ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศ (สูงเป็นอันดับที่ 12 และ 6 ของโลกตามลำดับ) และยังสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยถึงเกือบ 3 เท่า

นักวิเคราะห์มองว่าสาเหตุที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่า ทั้งๆ ที่มีปัจจัยลบมากมาย

Fed มองว่าเพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ เกิดอาการ “เครื่องร้อน” ทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงเกินกว่าที่คาด จึงต้องเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อ “เหยียบเบรก” ชะลอความเร็ว

ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ สูงก็ดึงดูดให้คนเอาเงินไปฝากไว้ โดยหวังจะได้ผลตอบแทนที่ดี

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ดอลลาร์แข็งก็อาจจะเป็นว่า เมื่อโลกเจอวิกฤตสารพัด ผู้คนก็อาจจะวิ่งหา “ท่าเรือที่ปลอดภัย”

ศัพท์ภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า flight to safety คือวิ่งหาที่ปลอดภัยไว้ก่อน

เพราะคนมองว่าดอลลาร์เปรียบได้เหมือนเงินสด

ในยามที่โลกเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง คนจำนวนไม่น้อยก็ต้องการจะวิ่งเข้าพึ่งพาเงินสกุลที่ปลอดภัยและเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วที่สุด

แน่นอนครับว่า ยิ่งคนวิ่งเข้าหาดอลลาร์เพื่อความมั่นคงของตนเท่าไหร่ ก็อาจจะยิ่งทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเท่านั้น

ทำให้ดันเงินเฟ้อขึ้นอีก ผลต่อเนื่องคือทำให้ต้องปรับดอกเบี้ยสูงตามไปด้วย

กลายเป็นวงจรที่สร้างปัญหาให้กับอเมริกาเองอีกชั้นหนึ่ง

นักวิเคราะห์อีกกลุ่มหนึ่งชี้ไปที่ความอ่อนแอของยุโรปตะวันตก ซึ่งมีผลทำให้ยูโรอ่อนตัวลง เพราะวิกฤตพลังงานและการต้องทุ่มทรัพยากรช่วยยูเครนทำสงครามกับรัสเซีย

พอเงินยูโรอ่อนยวบก็มีผลทำให้ผู้คนยิ่งวิ่งเข้าหาดอลลาร์อีก

กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าเช่นกัน

ความหวังจึงอยู่ที่ว่านโยบายเชิงรุกเรื่องดอกเบี้ยของ Fed จะมีผลทำให้เงินเฟ้อลดลงตามลำดับ และเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกกระเตื้องกลับมาในช่วงหลังฤดูหนาวนี้แล้ว

ก็จะทำให้เงินยูโรฟื้น ลดแรงกระทบต่อดอลลาร์ด้านหนึ่ง ทำให้เงินสกุลอเมริกันอ่อนตัวลง

หรือหากข่าวที่จีนกับรัสเซียกำลังชักชวนให้ประเทศในเครือข่ายซื้อขายกันในสกุลหยวนและรูเบิลมากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาดอลลาร์จะช่วยทำให้ดอลลาร์ไม่เป็นเงินสกุลที่แข็งแกร่งอยู่เจ้าเดียว ก็อาจจะทำให้ความร้อนแรงของเศรษฐกิจมะกันลดน้อยถอยลงไปได้บ้าง

นั่นจึงจะทำให้อะไรๆ เข้าสู่จุดสมดุลอันเหมาะควร

รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์กับบาทด้วย.

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/l75GKzm
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home