Tuesday, December 13, 2022

ถึงคราวสลับบทบาท : กูรูจีน-มะกัน กับผลการคลายล็อกโควิดของจีน



ทันทีที่รัฐบาลจีนประกาศคลายล็อกมาตรการควบคุมโควิดเมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการของจีนก็เปลี่ยนแนวทางคำอธิบายของสถานการณ์โรคระบาดอย่างฉับพลันเช่นกัน

จากที่ “โควิดต้องเป็นศูนย์” และ “สุขภาพของประชาชนต้องมาก่อน” กลายเป็นคำปลอบใจว่าโควิดไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น

คุณหมอจง หนานซาน (Zhong Nanshan) ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโควิดและออกมาเตือนคนจีนเป็นระยะๆ ว่าไวรัสตัวนี้อันตรายมาก

ล่าสุดออกมาให้สัมภาษณ์ว่า

“Omicron ไม่น่ากลัว เพราะ 99% ของผู้ติดเชื้อสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ใน 7-10 วัน”

คุณหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินหายใจอันดับต้นๆ ของจีน

เขากล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Omicron และมาตรการรับมือล่าสุด

พร้อมยืนยันความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

คุณหมอบอกว่า การระบาดระลอกที่ 2 ของ Omicron ทั่วประเทศแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และความเสี่ยงของ “ผลสืบเนื่อง” ที่เกิดจาก Omicron นั้นลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ Delta

โดยพื้นฐานแล้วพาหะที่ไม่แสดงอาการจะปราศจากผลที่ตามมาของ COVID-19

คุณหมอบอกว่า ปัญหาหลังการฟื้นตัวได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งจากจิตวิทยาสังคมในปัจจุบัน

ซึ่งยังคงต้องได้รับการสังเกตเพิ่มเติมจากมุมมองทางคลินิกที่เข้มงวด

ในการให้สัมภาษณ์กับ China Central Television หมอจงกล่าวว่า ผลที่อาจจะตามมาคืออาการซึมเศร้า วิตกกังวล และนอนไม่หลับ

แต่จะค่อยๆ หายไปหลังจากฟื้นตัว

เขาเน้นว่าการฉีดวัคซีนอย่างเพียงพอสามารถให้การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

จากข้อมูลของหมอจง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 อัตราส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันของจีนอยู่ที่ 1/374 ของค่าเฉลี่ยทั่วโลก หรือ 1/1,348 ของสหรัฐฯ และอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1/232 ของค่าเฉลี่ยทั่วโลก

นักระบาดวิทยามีชื่อเสียงของจีนอีกหนึ่งคน Li Lanjuan ย้ำว่าคนจีนไม่จำเป็นต้อง “ตื่นตระหนก” กับ Omicron

“การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการไม่ใช่โรค และพาหะเงียบไม่ใช่ผู้ป่วย” หมอหลี่บอกกับสื่อจีน

ซึ่งแตกต่างจากที่เคยประกาศเป็น “แนวปฏิบัติ” อย่างเคร่งครัดแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว

เขาบอกว่าแม้ว่าพาหะที่ไม่แสดงอาการจะติดต่อได้ แต่บุคคลนั้นไม่ใช่ผู้ป่วยและไม่จำเป็นต้องตื่นตกใจแต่ประการใด

หลี่กล่าวว่าการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเรียกว่า “การติดเชื้อแบบถดถอย” ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคติดเชื้อส่วนใหญ่ และจำนวนของการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการมักจะมีมากกว่าการติดเชื้อที่แสดงอาการ

ที่ว่าการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการไม่ใช่โรคนั้น เป็นเพราะคนส่วนใหญ่สามารถมีระดับภูมิคุ้มกันเฉพาะที่แตกต่างกันได้

หลี่กล่าวว่า ไวรัสจะกลายพันธุ์ต่อไปเมื่อมันแพร่กระจายตามธรรมชาติในอนาคต

และเสริมว่าเราต้องติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัสอย่างใกล้ชิด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกลายพันธุ์ของไวรัสกับความรุนแรง

ขณะที่คุณหมอจงกล่าวว่า แม้การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่สิ้นสุด แต่ย้ำว่าความสามารถในการก่อโรคของตัวแปร Omicron ได้ลดลงอย่างมาก

 “สำหรับการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อโอไมครอนอย่างถูกต้องนั้น เราไม่สามารถใช้วิธีการเดิมเมื่อ 2 ปีก่อนได้อีกแล้ว”

รายงานจากหลายเมืองหลักๆ ของจีนแจ้งว่า หลังรัฐบาลจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด ชาวจีนต่างก็แห่จองท่องเที่ยวในประเทศอย่างคึกคัก

ที่สถานีขนส่งสาธารณะต่างๆ ก็ทยอยรื้อป้ายสแกนรหัสสุขภาพออกกันเกือบหมดแล้ว

วันแรกที่ประกาศผ่อนคลายคือ 7 ธันวาคม 2565 โดยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรทางการว่า ประชาชนไม่ต้องแสดงผลตรวจโควิดเป็นลบ และรหัสสุขภาพ (health code) หากทำกิจกรรมในที่สาธารณะ

หรือแม้จะเดินทางข้ามเมืองก็ไม่ต้องแสดงผลการตรวจโควิดอีก

หนึ่งวันต่อมาคนจีนแชร์ข่าวกันอย่างกว้างขวาง ปรากฏว่าคำค้นว่า #อำลารหัสสุขภาพ ก็ขึ้นอันดับ 1 ในเวยป๋อ ซึ่งเป็น apps โซเชียลมีเดียอันดับ 1 ของจีน

ส่งสัญญาณว่าคนจีนพร้อมออกเดินทางเที่ยวอีกครั้งแล้ว

ข่าวบอกว่าที่เมืองซานยา เมืองตากอากาศชายทะเลชื่อดังของจีน ในมณฑลไห่หนาน (เกาะไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน มีการจองห้องพักและโรงแรมเพิ่มขึ้น 3 เท่า

จำนวนการค้นหาตั๋วสำหรับไปเที่ยวที่นั่นก็เพิ่มเกือบ 2 เท่า

และ 70% ในการจองโรงแรมที่เมืองซานยาในช่วงนี้ เป็นการจองแบบครอบครัว

จะเรียกว่าเป็นการ “เที่ยวแก้แค้น” ก็คงไม่ผิดนัก

คาดได้เลยว่าการท่องเที่ยวจะยิ่งคึกคักมากขึ้นในช่วงสิ้นปี ปีใหม่สากล และตรุษจีน

แต่อีกด้านหนึ่งก็มีความกังวลว่า เจ้าโควิดจะหวนคืนมาหรือไม่หากผู้คนแห่แหนกันออกไปพบปะกันอย่างไร้ข้อจำกัด

เพราะเท่ากับเป็นการกระโดดจากสุดขั้วด้านการควบคุมแบบเคร่งครัดไปเป็นอีกขั้วหนึ่งที่เกือบจะไร้การควบคุมเลย

เพราะเริ่มมีคนตั้งขัอสังเกตว่า จากนี้ไปจะเป็นช่วง “3 เดือนอันตราย” หรือไม่

3 เดือนที่ว่านี้เริ่มเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ 2566

นั่นคือช่วงเทศกาลตั้งแต่คริสต์มาส, ปีใหม่สากลและตรุษจีน

ที่ยังน่ากังวลคือ การฉีดวัคซีนของคนจีน โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเปราะบางยังต่ำกว่ามาตรฐานสากลที่ควรจะมี

อีกทั้งจีนยังไม่ได้สั่งเข้าวัคซีนยี่ห้อต่างประเทศมาเสริมวัคซีนของจีนเองเท่าที่ควร

ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เช่น คุณหมอ Anthony Fauci ที่ปรึกษาด้านโรคระบาดโควิดของทำเนียบขาวออกมาเตือนว่าจะเกิด “คลื่นโควิด” ระลอกใหญ่ในจีนได้ หากไม่มีการเร่งยกระดับการฉีดวัคซีนให้กับประชากรจีนอย่างเป็นรูปธรรมให้ทันกับความจำเป็น

Financial Times ของอังกฤษอ้างผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดเตือนว่า หากจีนไม่มีมาตรการเสริมอะไรในช่วงการ “ยกเลิกมาตรการควบคุมจาก Zero Covid กลายเป็น Total Covid” อาจจะมีผู้เสียชีวิตเป็นล้านในอีกหลายเดือนข้างหน้าก็เป็นได้

ภาพย้อนแย้งของโควิดที่เมืองจีนจึงเป็นที่จับจ้องกันทั่วโลกในขณะนี้

เพราะถ้าจีนกลายเป็นจุดระบาดใหม่ ทั้งโลกก็อาจจะต้องกลับมาตั้งหลักสู้กับโควิดอีกรอบ

คราวนี้ยุ่งกว่าเดิมแน่.

The post ถึงคราวสลับบทบาท : กูรูจีน-มะกัน กับผลการคลายล็อกโควิดของจีน appeared first on .

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/8u2NsxI
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home