Saturday, February 4, 2023

จับตาก้าวย่างใหม่เมื่ออินโดฯ นั่งเก้าอี้ประธานอาเซียนปีนี้



พอตำแหน่งประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้ตกเป็นของอินโดนีเซีย เราก็จะเห็นการผลักดันในหลายเรื่องที่ประเทศไทยควรจะต้องร่วมเสริมและต่อยอดอย่างเข้มแข็ง

เพราะปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคนี้กำลังจะกลายเป็นประเด็นใหญ่สำหรับเรา

ประธานาธิบดี Joko Widodo “โจโกวี” เปิดตัวการเป็นประธานอาเซียนปี 2023 ของอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการที่งานเปิดตัวที่ Hotel Indonesia Roundabout เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ด้วยการปั่นจักรยานไปที่วงเวียนกลางเมืองสมทบกับ Retno Marsudi, รัฐมนตรีต่างประเทศ, Erick Thohir รัฐมนตรีรัฐวิสาหกิจ, Pratikno รัฐมนตรีกระทรวงสำนักเลขาธิการรัฐ และ Basuki Hadmuljono รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและการเคหะ

“โจโกวี” ประกาศจะสานต่อความสำเร็จในฐานะประธาน G20 เมื่อปีที่แล้วด้วยการเป็นประธานอาเซียนในปีนี้

ท่ามกลางความไม่แน่นอนและความท้าทายทั่วโลก

 

“วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตพลังงาน วิกฤตอาหาร เช่นเดียวกับสงคราม เราเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดในปีนี้” เขากล่าว

เขายืนยันว่าอาเซียนจะยังคงสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

อาเซียนจะช่วยรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะอาเซียนมีความสำคัญและเป็นศูนย์กลางของการเติบโตในภูมิภาคนี้

รัฐมนตรีต่างประเทศ Marsudi เปิดเผยว่าแนวทางหลักของการเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ “ASEAN Matters: Epicentrum of Growth”

นั่นคือการทำให้โลกให้ความสนใจกับบทบาทของอาเซียนในฐานะเป็น “ศูนย์กลางแห่งการเติบโต”

“หากเราเห็นหัวข้อนี้ เรามีองค์ประกอบหลักสองประการ องค์ประกอบแรกคือเรื่องอาเซียน ซึ่งหมายความว่าผ่านการเป็นประธาน อินโดนีเซียยังคงทำให้อาเซียนมีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญ ไม่เพียงแต่สำหรับชาวอินโดนีเซียเท่านั้นแต่สำหรับชาวอาเซียนและประเทศอื่นๆ ด้วย “มาร์ซูดีกล่าว

เธอบอกว่าอินโดนีเซียมีความกระตือรือร้นที่จะให้อาเซียนเป็น “หัวรถจักร” เพื่อรักษาภูมิภาคอินโดแปซิฟิกให้เป็นภูมิภาคที่สงบสุขและมีเสถียรภาพ

อินโดนีเซียรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากกัมพูชาผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 40 และ 41 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ที่แน่ ๆ คืออินโดนีเซีย ‘ประธานอาเซียน’ จะต้องให้ความสำคัญกับปัญหาเมียนมาที่กลายเป็นหัวข้อร้อนแรงเพราะครบรอบรัฐประหารมา 2 ปีในสัปดาห์นี้ แต่อาเซียนยังไม่สามารถที่จะเล่นบทบาทการเป็น “คนกลาง” เพื่อให้กลับไปสู่สันติภาพได้

อุปสรรคใหญ่ที่สุดคือ “ฉันทามติ 5 ข้อ” หรือ 5-Point Consensus ยังอยู่บนกระดาษ ไม่สามารถนำมาสู่ภาคปฏิบัติ

ผมจะไม่แปลกใจเลยหากผู้นำอินโดฯเมื่อนั่งเก้าอี้ประธานอาเซียนปีนี้จะเพิ่มแรงกดดันให้พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ต้องทำให้อาเซียนไม่ดูเหมือน “เสือกระดาษ” ที่ไร้น้ำยาโดยสิ้นเชิงเหมือนสองปีที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์บางคนถึงขั้นบอกว่า “ฉันทามติ 5 ข้อ” ของอาเซียนนั้นหมดสภาพแล้ว ตายไปแล้วและ “ฝังกลบเรียบร้อยแล้ว”

ถือเป็นการทำให้อาเซียนถูกมองว่าไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถทำอะไรสมาชิกที่ละเมิดกฎกติกาสากลและมติของอาเซียนเองทั้ง ๆ ที่มิน อ่อง หล่ายเป็นคนเข้าร่วมประชุมกับผู้นำอาเซียนอื่น ๆ ที่กรุงจาการ์ต้าในเดือนเมษายนของปี 2021 หรือสองเดือนหลังรัฐประหาร

แต่พอกลับถึงบ้านผู้นำทหารพม่าคนนี้ก็เหมือนจะฉีกข้อตกลงนั้นทิ้งหน้าตาเฉย

ถึงวันนี้มาตรการลงโทษพม่าของอาเซียนคือการห้ามไม่ให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนประจำปีในปี  2021 ที่บรูไนเป็นประธานหมุนเวียน และในปี  2022 ที่กัมพูชารับช่วงต่อมา

แต่ดูเหมือนรัฐบาลทหารพม่าจะไม่แคร์เท่าไหร่นัก

อาเซียนยังไม่สามารถน้าวโน้มหรือกดดันให้รัฐบาลทหารพม่ายอมเจรจาหารือกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร ทั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเมียนมา (National Unity Government – NUG)

หรือกองกำลังประชาชนเพื่อการป้องกันตนเอง (People’s Defense Forces – PDF) เลย

ตัวแทนของกัมพูชาบินเข้าพม่าหลายรอบ แต่ก็ได้แต่เพียงพบตัวแทนฝ่ายทหาร ไม่อาจจะพบกับตัวแทนของฝ่ายอื่น ๆ ที่ยืนอยู่คนละข้างกับรัฐบาลทหาร

นายกฯฮุนเซนของกัมพูชาพยายามทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทหารพม่ากับอาเซียนกลับมาสู่ภาวะปกติในระดับหนึ่ง

แต่ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ตรงกันข้าม ยิ่งวันสถานการณ์ในเมียนมาก็ยิ่งหนักหน่วงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

สถิติไม่เป็นทางการบอกว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 2,700 คน ขณะที่ อย่างน้อย 13,600 คนยังถูกจับกุมคุมขังอยู่ และพลเรือนกว่า 1 ล้านคนกลายมาเป็นคนพลัดถิ่น

 

การเลือกตั้งที่มิน อ่อง หล่ายประกาศซ่าจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมปีนี้ก็เป็นเรื่อง “ตลกร้าย”

เพราะกติกาที่เพิ่งประกาศออกมานั้นมีแต่จะเอื้อต่อพรรคการเมืองที่จัดตั้งโดยกองทัพหรือไม่ก็เป็นกลุ่มการเมืองที่มีความโน้มเอียงไปทางทหาร

ไม่มีตัวแทนของฝ่ายประชาธิปไตยหรือชาติพันธุ์มีโอกาสที่จะเข้าแข่งขันอย่างเท่าเทียมเลย

คำถามใหญ่ก็คือว่าอาเซียนจะแสดงจุดยืนเรื่องการเลือกตั้งที่จุดภายใต้บริบทที่กองทัพกำกับและควบคุมทุกขั้นตอนอย่างไร

หากปล่อยให้มีการเลือกตั้งในกรอบกติกาที่กองทัพเป็นผู้บงการ ก็น่าจะรู้ล่วงหน้าว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นการให้ความชอบธรรมกับการดำรงอยู่ของรัฐบาลทหารที่ไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของประชาชนแต่อย่างใด

 

อินโดฯในฐานะประธานอาเซียนปีนี้เตรียมจะเดินหน้ากดดันรัฐบาลทหารพม่าด้วยการประกาศว่าจะเปิด “สำนักงานผู้แทนพิเศษอาเซียนในเมียนมา” เพื่อประสานงานให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมทำงานกันในเร็ว ๆ นี้

เท่ากับเป็นการเปิดทางให้อาเซียนมีตัวแทนค่อนข้างถาวรในพม่า ไม่ใช่เพียงแค่ส่งตัวแทนเดินทางเข้าออกเป็นครั้งคราวเท่านั้น

แต่ดูเหมือนกองทัพพม่าจะตั้งท่าคอยขัดขวางอย่างเต็มที่เช่นกัน

เพราะมีคำเตือนจากรัฐบาลพม่าเกือบจะทันควันด้วยการเตือนว่าอาเซียน “อย่าได้ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มผิดกฎหมาย” เป็นอันขาด

คำว่า “กลุ่มก่อการร้าย” และ “กลุ่มผิดกฎหมาย” ในที่นี้ย่อมหมายตามที่กำหนดโดยรัฐบาลทหารพม่า

เพราะกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการรวมตัวของฝ่ายต่อต้านรัฐประหารเพื่อเรียกร้องให้กลับไปสู่การเลือกตั้งที่เปิดเผยและโปร่งใสอันสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

อินโดนีเซียอาจจะเดินหน้ารุกหนักกว่ากัมพูชาที่ผ่านในกรณีนี้

เช่นอาจจะมีการเสนอระงับสมาชิกภาพของพม่าชั่วคราวจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการแสวงหาสันติภาพ

หรือเมื่ออาเซียนได้รับความร่วมมือในระดับที่น่าพอใจจากกองทัพพม่า

อีกทั้งยังอาจจะเปิดทางให้ NUG มานั่งในที่ประชุมอาเซียนได้

ตามมาด้วยการระงับความสัมพันธ์ทั้งหมดกับรัฐบาลทหารเมียนมา

และเดินหน้าเอาจริงกับมาตรการลงโทษตามอย่างนานาประเทศต่อบริษัทที่กองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ

จุดยืนและบทบาทไทยในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิดมากกว่าเดิมแน่นอน.

The post จับตาก้าวย่างใหม่เมื่ออินโดฯ นั่งเก้าอี้ประธานอาเซียนปีนี้ appeared first on .

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/N7pMfju
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home