Tuesday, April 4, 2023

เปลือก..คือศิลปะ?



คุณวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ

ได้โพสต์ข้อความท่ามกลางกระแส “แบนสุพรรณหงส์” ไว้อย่างน่าสนใจ และแม้สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์ฯ จะยอมถอย เลิกกติกาแล้วก็ตาม

ผมก็เห็นต้องขออนุญาตคัดลอกนำมาให้คนในวงการ โดยเฉพาะคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์ฯ ได้ลองอ่าน เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ตามนี้..

“ปกติเพจนี้ไม่คุยเรื่องคนบันเทิง แต่ตอนนี้คนบันเทิงกำลังคุยกันเรื่อง #แบนสุพรรณหงส์ ก็ขอแจมหน่อย แต่ในมุมของคนดูหนังและรีวิวหนัง

สรุปข่าวก่อน ผู้จัดงานสุพรรณหงส์เปลี่ยนกฎเกณฑ์การคัดเลือกใหม่ นั่นคือ ภาพยนตร์ที่จะเข้าชิงรางวัลต้องเข้าฉายอย่างน้อย 5 จังหวัด (กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช)

หรือต้องมีคนดูตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป คนจำนวนมากเห็นว่ากฎนี้ “ไม่ยุติธรรม” เพราะหนังดีจำนวนมากหาโรงฉายไม่ได้

ผมเชื่อว่ากติกาใหม่นี้น่าจะเลียนแบบรางวัลออสการ์ กติกาใหม่ของออสการ์คือ 1.ต้องฉายติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันในโรงภาพยนตร์ อย่างน้อยวันละ 3 รอบ

2.ต้องฉายอย่างน้อย 1 ใน 6 เมืองใหญ่ (ลอสแองเจลิส นิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก ชิคาโก ไมอามี แอตแลนตา) 3.การฉายครั้งแรกต้องเกิดขึ้นที่โรงภาพยนตร์เท่านั้น

ทำไมออสการ์ต้องกำหนดกฎนี้? น่าจะเพราะหลายปีนี้มีหนังสตรีมมิงจำนวนมากต้องการเข้าเวทีออสการ์ด้วย ผู้จัดออสการ์จึงตั้งกฎใหม่มาขวาง

อาจเพื่อต้องการรักษาชีวิตโรงภาพยนตร์ หรืออาจเพราะมีกรอบคิดว่าหนังต้องคู่กับโรงภาพยนตร์เท่านั้น

ความเห็นของผม? ผมทำงานศิลปะมาตลอดชีวิต หลายสาย และพบว่าวงการศิลปะเต็มไปด้วยเปลือก ถ้าไม่ระวัง ก็จะหลุดจากหัวใจของศิลปะไป

ยกตัวอย่างเช่น สมัยก่อนเป็นหนังเงียบ ในกรอบคิดคนทั่วไปหนังก็ต้องเงียบ จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนประดิษฐ์ระบบเสียงขึ้นมาสำเร็จ ถ้ายังยึดมั่นถือมั่นว่าหนังต้องเงียบ ก็ไปต่อไปไม่ได้

เช่นกัน สมัยก่อนหนังเป็นขาว-ดำ ต่อมามีคนคิดค้นหนังสีสำเร็จ ถ้ายังยึดมั่นถือมั่นว่าหนังต้องเป็นสีขาว-ดำก็ไปต่อไปไม่ได้

นานปีมาแล้วเมื่อหนังสือ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ได้รับรางวัลซีไรต์ ก็มีคนอยากให้ถอนรางวัล เพราะหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มนี้มีบทความแทรกอยู่ด้วย

พวกเขาเห็นว่ารวมเรื่องสั้นก็ต้องเป็นรวมเรื่องสั้น เพิ่มเติมอย่างอื่นไม่ได้ 

สาระหลักของหนังดี ดนตรีดี จิตรกรรมดี สถาปัตยกรรมดีคือความเป็นศิลปะ ไม่ใช่รูปแบบ เพราะรูปแบบเปลี่ยนไปเสมอ

วันหนึ่งในอนาคตมันอาจไม่มีทั้งฟิล์มเก่าและดิจิทัล แต่เป็นสัญญาณที่ส่งเข้าสมองเราโดยตรง เมื่อนั้นศิลปะจะหายไปหรือ?

กรอบคิดของคนให้รางวัล ทั้งฝั่งฮอลลีวูดกับบ้านเราคือ คิดว่าเปลือกคือศิลปะ

การที่กำหนดว่าหนังต้องฉายกี่จังหวัด ก็เหมือนกำหนดว่าจิตรกรจะเป็นเลิศได้ต้องวาดบนแคนวาสด้วยสีน้ำมันเท่านั้น วาดบนเศษกระดาษด้วยสีถ่านแล้วไม่เลิศ

ถ้าเป็นนักดนตรีชั้นเลิศก็ต้องเล่นเปียโน ไวโอลิน ถ้าเป่าด้วยขลุ่ยไม้บนหลังควายกลางทุ่งนาแล้วไม่ใช่ศิลปะ

ศิลปะก็คือศิลปะ การยกย่องศิลปะให้ดูที่เนื้องาน ไม่ใช่ที่เปลือก สถานที่จัดแสดง

ระวังอย่าติดกับดักของกรอบคิด เพราะหากข้ามมันไม่พ้น เราก็ไม่มีทางยกระดับงานศิลปะไปอีกขั้น หรือหลายขั้น

ป.ล. ในความเห็นส่วนตัว เราไม่จำเป็นต้องเดินตามฝรั่งที่เริ่มกฎนี้ เพราะบริบทและเบื้องหลังต่างกัน (กฎใหม่นี้อาจจะมาจากการล็อบบี้ก็ได้) หากเราสร้างกฎนี้ วงการหนังไทยจะยิ่งตกต่ำลง

มันไม่ได้ช่วยยกระดับหนังไทยแต่ประการใด ถ้าอยากช่วยจริงๆ เราควรหาทางเพิ่มรอบฉายให้หนังที่ด้อยโอกาสมากกว่า”

จบ!.

 

สันต์ สะตอแมน

The post เปลือก..คือศิลปะ? appeared first on .

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/Altkoem
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home