ขอย้ายกลับ40% คนสธ.เซ็ง‘อบจ.’
.vce-row-container .vcv-lozad {display: none}
เมื่อวันที่ 21 ม.ค.66 นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง และประธานคณะอนุกรรมการ MIU วิชาการและติดตามประเมินผลถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพ.สต.ให้แก่ อบจ. กล่าวว่า หลังจากมีการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.)/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 จากการติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจ พบว่าบุคลากรกว่า 40% ที่โอนย้ายไปมีความต้องการขอย้ายกลับกระทรวงสาธารณสุข เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ประกอบด้วย
1.ความไม่พร้อมในการรับถ่ายโอนของ อบจ. ระบบใหม่ยังไม่ลงตัว ระเบียบต่างๆ และแนวทางการดำเนินงานยังไม่ชัดเจน และไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของสาธารณสุข โดยระบุว่าอยากให้โครงสร้าง อบจ.มีความพร้อมมากกว่านี้ถึงจะทำการถ่ายโอน และให้สมัครใจย้าย ไม่ใช่บังคับสมัครใจโดยนำกฎหมายมาอ้าง แต่ขาดความพร้อม ขาดความเข้าใจ
2.ภาระงาน ให้เหตุผลว่าภาระงานเพิ่มมากขึ้น บุคลากรไม่เพียงพอต่องาน ความไม่มั่นคงทางการเงินของ รพ.สต. ทำให้ต้องหาเงินเข้า รพ.สต.ด้วย ขณะที่บุคลากร อบจ.ไม่เพียงพอและไม่มีความรู้ด้านสาธารณสุข ทำให้ประชาชนเสียผลประโยชน์ ระบบบริการเดิมที่ดีอยู่แล้วแย่ลงมาก ประชาชนได้รับผลกระทบ
3.ความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน โดยลูกจ้างมีโอกาสก้าวหน้าค่อนข้างยากและไม่มีความชัดเจน ความก้าวหน้าไม่เป็นไปตามโครงสร้าง การปรับเงินเดือนขึ้นน้อยกว่า เงินเวรน้อยกว่า สวัสดิการและเงินค่าตอบแทนต่างๆ ได้ไม่เท่าเดิม อีกทั้งยังมีปัญหาสิทธิการรักษาพยาบาลที่ได้ไม่เท่าเดิม สิทธิการรักษาของกระทรวงสาธารณสุขมีความมั่นคงมากกว่า อบจ.
4.ระบบการทำงานของ อบจ.ไม่เอื้อต่อการทำงานของ รพ.สต. แนวทางการปฏิบัติงานยุ่งยาก ซับซ้อน ขั้นตอนมาก ไม่มีความคล่องตัว ระบบการประสานงานข้ามกระทรวงยุ่งยาก ประสานงานลำบาก ขอบเขตงานทันตกรรมไม่ชัดเจน ที่สำคัญ อบจ.ไม่มีทันตแพทย์รองรับการให้บริการทันตสุขภาพ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขมีระบบการทำงานง่ายกว่า ไม่ซับซ้อน อีกทั้งมิใช่การถ่ายโอนลงพื้นที่ตามเจตนารมณ์การกระจายอำนาจ การถ่ายโอนไป อบจ.เพิ่มชั้นความห่างของการทำงาน บาง รพ.สต.กว่าจะเดินทางมาถึง อบจ.มีระยะทางมากกว่า 100 กิโลเมตร จากเดิมที่ผู้บังคับบัญชาอยู่ในพื้นที่ คือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งอยู่ใกล้ มีความใกล้ชิด เข้าใจระบบการทำงาน และทำงานในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว
และ 5.ความรู้สึกหลังการโอนย้าย โดยระบุว่าไม่ชอบระบบทางการเมือง แนวนโยบายก่อนกับหลังถ่ายโอนไม่สามารถทำตามได้จริง หรือทำไม่ได้อย่างที่ออกนโยบาย ต้องรอความชัดเจน และเห็นว่างานสาธารณสุขควรอยู่กับสาธารณสุข ทั้งนี้ มีบุคลากรส่วนหนึ่งระบุว่าไม่ได้อยากโอนย้าย แต่อยากทำงานที่ รพ.สต.เหมือนเดิม และขอให้กระทรวงสาธารณสุขหาแนวทางช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์โอนย้ายกลับภายในปี 2568 โดยขอย้ายกลับในตำแหน่งเดิม เลขที่ตำแหน่งเดิม และมีแนวทางรองรับเจ้าหน้าที่ย้ายกลับให้ชัดเจน และขอให้ดำเนินการด้วยความพร้อม มิใช่รวบรัด เร่งรีบ ขาดความเข้าใจ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ มิใช่มาสร้างปัญหาให้เกิดความเดือดร้อน เกิดผลกระทบกับประชาชน ทำลายระบบสาธารณสุขที่พัฒนาสร้างมาเป็นอย่างดีจนอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก.
The post ขอย้ายกลับ40% คนสธ.เซ็ง‘อบจ.’ appeared first on .
Source link
from World eNews Online https://ift.tt/2kv6DQU
via World enews
Labels: news, World eNews Online, worldnews
0 Comments:
Post a Comment
Subscribe to Post Comments [Atom]
<< Home