Saturday, August 6, 2022

วันนี้ต่างกับ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ อย่างไร?



เมื่อวานผมนำเอาคำอธิบายแบบคุยกันง่ายๆ ของ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าแบงก์ชาติที่พยายามชี้ถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘ส่วนต่างดอกเบี้ย-ค่าเงิน-ทุนเคลื่อนย้าย-ทุนสำรอง’ กับนักข่าว

หลายประเด็นน่าสนใจมาก เพราะผู้ว่าฯ ธปท.ต้องการจะแย้งความเชื่อในหลายๆ มิติว่าด้วยเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ผู้คนกำลังกังวลกันขณะนี้

ผมจึงขออนุญาตเอาข้อความถอดเทปในเพจ Bank of Thailand Scholarship Students มาเล่าสู่กันฟังต่อ

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Meet the Press ในหัวข้อ ‘ชี้แจงประเด็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท เงินทุนเคลื่อนย้าย และเงินทุนสำรอง ณ โถงหน้าห้องประชุมภัทรรวมใจ อาคาร 2 ชั้น 2 ธปท.สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2565

เรามาอ่านต่อจากเมื่อวานกันครับ

ค่าเงินบาทอ่อน ทุนสำรองลดลง ไปกระทบเสถียรภาพของไทยคล้ายกับวิกฤตปี 2540 จริงหรือ?

ที่มีคนเขาเรียกว่า perfect storm เรื่องอันโน้นอันนี้สารพัด แต่ถ้าไปดูสถานการณ์ของเรากับประเทศที่เจอวิกฤต เช่น ศรีลังกา ต่างกันโดยสิ้นเชิง           ทุนสำรองของเราตอนนี้ ถึงแม้มันจะดูว่ามีการลดลง จากการดูแลเรื่องค่าเงิน หรือจาก Valuation change (การเปลี่ยนแปลงมูลค่า) หรือจากผลตอบแทนการลงทุน

ซึ่งตอนปี 2540 เรามีทุนสำรอง 9,000 ล้านดอลลาร์ แต่ตอนนี้มี 2.47 แสนล้านดอลลาร์

ถามว่ามันพอไหม

เราต้องเทียบกับความต้องการจะใช้เงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของเรามีเท่าไหร่

เพราะว่าถ้าประเทศขาดเสถียรภาพ มีความเปราะบาง แล้วเจ้าหนี้เขาเรียกหนี้คืน เหมือนกับที่เราเจอตอนปี 2540 ถ้าเขาดูแล้วว่าถ้าเรียกหนี้คืน แล้วประเทศไม่มีเงินทุนสำรองพอ เขาจะตกใจ และรีบเรียกหนี้คืนไป ถ้าไม่เรียกหนี้คืนก็จะไม่ได้เงิน เงินต่างประเทศก็ไหลออก ทุนสำรองก็จะหาย

แต่ของเราทุนสำรองระหว่างประเทศเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น มีประมาณ 2.6 เท่า

พูดง่ายๆ คือ ถึงแม้เขาจะเรียกหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ทุนสำรองระหว่างประเทศก็มีพอ เขาจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเรียกหนี้ เพราะเขารู้สึกว่าปลอดภัย

และถ้าเทียบอันดับในโลก ทุนสำรองของเรากับหนี้ต่างประเทศ เราอยู่ในอันดับท็อปๆ ของโลก

ในแง่เสถียรภาพอะไรต่างๆ ภาพไม่ได้น่าห่วงขนาดนั้น

ผลของการที่ค่าเงินอ่อน ถามว่าน่าเป็นห่วงเหมือนเมื่อปี 2540 หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่

เพราะหนี้ต่างประเทศของเรา สมัยปี 2540 เหตุผลที่เรากลัวมากเรื่องค่าเงินอ่อน เป็นเพราะว่าหนี้ต่างประเทศเราเยอะ

ตอนที่บริษัทมีหนี้ต่างประเทศเยอะ ถ้ากู้มา 100 ล้านเหรียญฯ แล้วค่าเงินบาทวิ่งไปที่เกือบ 25 บาท กลายเป็น 52 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ การค้างหนี้ในรูปเงินบาทจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่ตอนนี้ถึงแม้บาทวิ่งขึ้นไปอ่อนสุดในรอบเท่าโน้นเท่านี้ปี

เมื่อหนี้ต่างประเทศของเราไม่ได้สูงอย่างนั้น ผลกระทบเรื่องเสถียรภาพการเงินจากการที่ค่าเงินบาทอ่อน ก็ไม่ได้มาก

ซึ่งเราก็ไม่ได้อยากเห็นการขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนเร็วขนาดนี้ แต่มันมาจากปัจจัยภายนอก มาจากดอลลาร์ โดยค่าเงินที่อ่อน ทำให้สินค้านำเข้าแพงขึ้น และไปซ้ำเติมผลของเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเป็นห่วง และไม่อยากเห็น

ไม่ได้บอกนะว่า มันไม่มีเรื่องที่น่าห่วง มันมี แต่ถามว่าผมกังวลเรื่องนี้ที่สุดหรือเปล่า คำตอบก็คือ ไม่

สิ่งที่ผมกังวลเรื่องเดียวคือ เราอยากเห็นการฟื้นตัวของเราที่ต่อเนื่อง

และถ้าเราจะเห็นแบบนั้น รายได้ต้องกลับมา ซึ่งตัวที่ไปกระทบกับรายได้คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว อันนี้เป็นความเสี่ยงที่เราต้องห่วง น่าใส่ใจ

ส่วนเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย เรื่องอะไรพวกนี้ ด้วยบริบทของเราปัจจุบัน เราจับตามอง ไม่ได้ชะล่าใจ เรามอนิเตอร์ตลอดเวลา แต่จุดนี้ไม่ใช่ตัวที่น่ากังวลขนาดที่จะไปกระทบเรื่องเสถียรภาพ และทำให้การฟื้นตัวของเราสะดุด

ค่า ‘บาทอ่อน’ ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ ‘เงินเฟ้อ’ เพิ่ม

เราไม่ได้มีเป้าว่าอัตราแลกเปลี่ยนควรเป็นเท่าไหร่ ไม่มีการเซตไว้ว่าการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนห้ามกันเท่านั้นเท่านี้ ทิศทาง เราปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด

แต่สิ่งที่เราไม่อยากเห็นคือ การปรับตัวที่เร็วเกินไป จนทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้บางช่วง บางจังหวะ เราต้องเข้าไปช่วยดูแลค่าเงิน

ถามว่าการที่ค่าเงินมันอ่อน แล้วส่งผลต่อเงินเฟ้อหรือไม่

แต่ถ้าดูจะเห็นว่าเงินเฟ้อที่ขึ้นมา หลักๆ ไม่ได้มาจากค่าเงินบาทที่อ่อน แต่มาจากราคาพลังงานมากกว่า ที่ทำให้เงินเฟ้อพุ่งเยอะ

ถามว่าเราทำอะไรกับตัวนี้ได้หรือเปล่า คำตอบก็คือ ไม่ได้

ซึ่งในบางประเทศเขาจะเข้ามาด้วยมาตรการอื่น เช่น มาตรการฝั่งการคลัง มาอุดหนุนพลังงานนั่นอีกเรื่อง

ส่วนหน้าที่ของเราในเรื่องเงินเฟ้อคือ การทำให้ราคาที่เพิ่มขึ้น ไม่ทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อ หรือเครื่องยนต์เงินเฟ้อติด เราจึงทำเรื่องนโยบายการเงินฝั่งดอกเบี้ย

สิ่งที่เราไม่อยากเห็นคือ การขึ้นของค่าเงินบาทไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐาน

เช่น มาจากการเก็งกำไรต่างๆ แต่บางทีการเคลื่อนไหวของค่าเงิน มันมาจากปัจจัยที่จริง คือ เรื่องเฟด (ธนาคารกลางสหรัฐ)

เช่น ถ้าเฟดบอกว่าจะเหยียบเบรกแรงขึ้นกว่าเดิม ก็เป็นเรื่องปกติที่ดอลลาร์จะต้องแข็ง และบาทก็ต้องอ่อน     แต่เราดู Speed ไม่ให้มันมากเกินไป

แต่ถ้าเป็นเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาเก็งกำไร ที่ไม่มีที่มาที่ไป เราจะต้องเข้าไปดูทั้งที่มาของการเคลื่อนไหวว่า มาจากตรงไหน และดูเรื่อง Speed ซึ่งค่าเงินบาทจะผันผวนอย่างนี้ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เราอยากเห็นคือ ผู้ประกอบการต้องทำ Hedging (ประกันความเสี่ยงค่าเงิน) ให้มากขึ้น แต่ก็เข้าใจว่าต้นทุนมันสูง แต่ก็ลดลงมาแล้ว

จับตาค่าเงินบาท ‘พลิกกลับ’ หากเงินเฟ้อสหรัฐถึงจุดพีก

เรื่องเสียงบ่นทำใจเถอะ แข็งก็บ่น อ่อนก็บ่น เพราะคนที่ได้ประโยชน์เขาจะเงียบ ส่วนคนที่โดนเขาจะบ่น

สมมติบอกว่า เราไม่ต้องการให้อ่อน ให้ค่าเงินบาท Fixed กับเงินดอลลาร์ ไว้ระดับหนึ่ง ผลที่ตามมาคือ เงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นจะแข็ง จึงเป็นที่มาที่เราปล่อยให้ลอยตัว

 “ในเชิงพื้นฐานของเรา ในแง่ต่างประเทศ เราไม่ได้ weak (อ่อนแอ) ขนาดนั้น ทุนสำรองก็เยอะ หนี้ต่างประเทศก็น้อย ดุลบัญชีเดินสะพัดตอนนี้ติดลบ เดี๋ยวท่องเที่ยวกลับมาก็เป็นบวก sentiment ก็มีโอกาสสวิง อย่างสหรัฐฯ ตอนนี้ทุกคนก็เฮโลไปฝั่งนี้ฝั่งเดียว.

The post วันนี้ต่างกับ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ อย่างไร? appeared first on .

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/DxyUMYa
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home