เอาคนโกงกลับบ้าน
น่าปลื้มใจจริงๆ
คนในพรรคเพื่อไทยออกมาพูดถึงสเปกของผู้นำประเทศ
“นพดล ปัทมะ” รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย บอกว่า
“…หลังการเลือกตั้งอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ประเทศต้องมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ตัวผู้นำมีความสามารถ สมองดี ทำงานเก่ง และต้องซื่อสัตย์ต่อนโยบายที่หาเสียงช่วงเลือกตั้ง นำไปลงมือปฏิบัติให้สำเร็จ มิใช่ละทิ้งความรับผิดชอบ ไม่เดือดร้อนกับสัญญาหาเสียงที่พรรคต้นสังกัดเคยให้ไว้กับประชาชน
ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วนคือการแก้ความยากจนด้วยรายได้ การเร่งสร้างโอกาสให้คนไทยในทุกมิติ การเพิ่มขีดความสามารถของประเทศด้านทุนมนุษย์ การศึกษา
โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ความโปร่งใส เทคโนโลยี รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายและระบบราชการ…”
นี่…ด่ากราดกระเทือนไปถึงนายกรัฐมนตรีทุกคนในอดีตกันเลยทีเดียว
จะว่าไปแล้วสเปกนายกฯ ของ “นพดล ปัทมะ” ยังถือว่า “ไม่สุด” ก็ตรงที่ ต้องซื่อสัตย์ต่อนโยบายที่หาเสียงช่วงเลือกตั้ง
ความซื่อสัตย์ของผู้นำ มันต้องซื่อสัตย์ทุกเรื่อง
ซื่อสัตย์ในการบริหารประเทศ ไม่ทุจริตคดโกง นี่จึงจะถือเป็นผู้นำที่มือสะอาดอย่างแท้จริง
แต่เอาเถอะ…การซื่อสัตย์ต่อนโยบายที่หาเสียงเลือกตั้งก็ยังดีกว่าไม่ซื่อสัตย์อะไรเลย
เข้าใจว่าความคิดนี้ต้องการบลัฟรัฐบาลประยุทธ์ ที่ทำไม่ได้หลายเรื่อง
เผื่อยังมีคนเข้าใจผิด
ปฏิรูปตำรวจ
ปฏิรูปการเมือง
สารพัดปฏิรูป ไม่ได้อยู่ในแผ่นพับหาเสียงเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐเมื่อปี ๒๕๖๒ นะครับ
ที่มีคือ ค่าแรงขั้นต่ำ ราคาพืชผลทางการเกษตร
แคมเปญหาเสียงคือ “นโยบาย ๗-๗-๗”
๗ สวัสดิการประชารัฐ
๗ สังคมประชารัฐ
๗ เศรษฐกิจประชารัฐ
สำเร็จบ้าง ไม่ได้เรื่องได้ราวบ้าง
แต่ที่โดดเด่นรัฐบาลในอดีตเทียบไม่ได้คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
โดยเฉพาะการต่อยอด เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ต่อเนื่องจากรัฐบาลเผด็จการ คสช. ซึ่งจัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีในปี ๒๕๕๘
ฉะนั้นการซื่อสัตย์ต่อนโยบายที่ใช้หาเสียง แม้พรรคเพื่อไทยเคลมได้ว่า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ปริญญาตรีเงินเดือน ๑๕,๐๐๐ บาท คือผลงานมาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า นโยบายประชานิยมเหล่านี้สร้างปัญหาอื่นตามมาเช่นกัน
ทั้งรัฐและเอกชนต้องจ่ายเพิ่ม แต่นโยบายพรรคเพื่อไทยไม่พูดถึงการวางรากฐานให้ประเทศแต่อย่างใด
หนำซ้ำนโยบายจำนวนข้าว นำมาซึ่งการคอร์รัปชันอย่างกว้างขวาง
นโยบายขายข้าวจีทูจีก็เอื้อให้เอกชนบางราย สุดท้ายติดคุกกันกราวรูดทั้งรัฐมนตรีและพ่อค้า
ฉะนั้นเมื่อคนในพรรคเพื่อไทยออกมาบอกกับสังคมว่า ผู้นำประเทศหลังการเลือกตั้ง จะต้องมีความสามารถ สมองดี ทำงานเก่ง และต้องซื่อสัตย์ต่อนโยบายที่หาเสียงช่วงเลือกตั้ง นำไปลงมือปฏิบัติให้สำเร็จ ก็ต้องย้อนกลับไปดูรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่าซื่อสัตย์กับนโยบายที่ใช้หาเสียงเลือกตั้งแค่ไหน
ในเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย เขาลงบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อปลายปี ๒๕๖๔ เอาไว้ดังนี้ครับ
….หลังชนะเลือกตั้ง ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ อย่างถล่มทลาย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หลังจัดตั้งคณะรัฐมนตรี #ณ วันนั้น ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ รัฐบาลชุดใหม่แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ตามมาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐
. “เนื่องจากวันนี้ประเทศไทยอยู่ในสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวคิดในการบริหารบ้านเมืองจึงไม่สามารถใช้กรอบแนวคิดแบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีตได้ ดังนั้นกรอบแนวคิดใหม่ๆ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องนํามาใช้เพิ่มเติมร่วมกับต้นทุนดั้งเดิมของประเทศที่เรามี เพื่อรวบรวมพลังจากทุกภาคส่วน มาช่วยกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศของเราให้ดียิ่งขึ้น”
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา
การแถลงนโยบายถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ๒.นโยบายตลอดระยะการบริหารราชการ ๔ ปีของรัฐบาล โดยเนื้อหาทั้งหมดเป็นการนำนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยมาแถลงเป็นนโยบาย
สำหรับนโยบายระยะเร่งด่วนมีทั้งสิ้น ๑๖ นโยบาย ดังนี้
๑.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
๒.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
๓.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง
๔.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ และเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
๕.เร่งนำสันติสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๖.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
๗.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
๘.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค
๙.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล
๑๐.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน
๑๑.ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน
๑๒.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว โดยปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์)
๑๓.สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
๑๔.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค
๑๕.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน
๑๖.เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง
จากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้น ทุกนโยบายหาเสียงที่ได้ทำการแถลง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ดำเนินการในทุกนโยบายอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งหลายนโยบายได้กลายเป็นรากฐานสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน อย่างเช่น ค่าแรงขั้นต่ำระดับปริญญาตรีของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังเป็นผลงานการดำเนินนโยบายจากรัฐบาลสมัยนั้น คงอยู่ที่ ๑๕,๐๐๐ บาท แม้เวลาจะผ่านมาเกือบ ๑๐ ปีแล้วก็ตาม หรือนโยบายการเร่งนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เน้นการเจรจาประสบผลสำเร็จอย่างชัดเจน รวมไปถึงนโยบายการคลังที่วางเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในระยะยาว มีความสมดุลทางการคลังนั้นส่งผลถึงปัจจุบันเช่นกัน
แต่ก่อนที่ทุกนโยบายจะได้ดำเนินการเสร็จสิ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๕๗ ตัดตอนทุกนโยบายหยุดการพัฒนาทุกโครงการ หากมองความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐประหารจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยถูกทำให้หยุดพัฒนา ไม่มีการพัฒนาประเทศ ไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดี และไม่มีความหวังถึงอนาคต เหมือน ๗ ปีที่ผ่านมาคือความว่างเปล่า….
ถ้าถามถึงความซื่อสัตย์ต่อนโยบาย เอาแค่ข้อ ๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องทำในปีแรก แทนที่จะ “ซื่อสัตย์” กลับกลายเป็น “ทรยศ”
โครงการรับจำนำข้าวก็เห็นๆ กันอยู่ นายกฯ หนี รัฐมนตรีติดคุก จะอ้างรัฐประหารไม่ได้
เพราะหากไม่มี รัฐบาลจะโกงมากกว่าที่เห็น
ครับ…นายกฯ คนต่อไปต้องชัดเจนครับ อย่างน้อยๆ ต้องไม่มีประวัติคอร์รัปชันในตระกูล
ต้องไม่หาเสียงเอาคนโกงกลับบ้าน.
The post เอาคนโกงกลับบ้าน appeared first on .
Source link
from World eNews Online https://ift.tt/ODY7lB1
via World enews
Labels: news, World eNews Online, worldnews
0 Comments:
Post a Comment
Subscribe to Post Comments [Atom]
<< Home