Wednesday, January 25, 2023

สรุป‘ป้าย33ล.’ไม่ทุจริต! กก.สอบชี้วิธีประหยัดงบ



.vce-row-container .vcv-lozad {display: none}

“คมนาคม” เปิดผลสอบเปลี่ยนป้ายสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์   33 ล้าน ชี้ รฟท.ดำเนินการตามขอบเขตงาน-ราคากลางกรอบไม่ผิดปกติ แต่ชงเปิดประมูลทั่วไปเพื่อความโปร่งใส พร้อมแนะทบทวนการใช้เทคนิค ใช้ตัวอักษรเดิมมารีไซเคิล หวังหั่นต้นทุนลง โยนบอร์ด รฟท.เคาะแนวทางเดินหน้างานต่อไป

เมื่อวันอังคารที่ 24 มกราคม 2566 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (คค.) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยวิธีจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงมูลค่า 33 ล้านบาท แถลงผลตรวจสอบว่า คณะกรรมการฯ ได้ประชุมมาแล้ว 3 ครั้งในการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและรอบด้านใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1.เรื่องความเหมาะสมของขอบเขตงานและราคากลาง และ 2.ความถูกต้องของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงนั้น

นายสรพงศ์กล่าวต่อว่า ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องความเหมาะสมของขอบเขตงานและราคากลางนั้น โดยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการดำเนินงานเดิมที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2553 และการกำหนดราคากลางของคณะกรรมการจัดทำร่างขอบเขตงานและกำหนดราคากลางในส่วนของค่าวัสดุและค่าแรง ซึ่งมีที่มาจากการสืบราคาของที่ปรึกษา CSC และการพิจารณาเอกสารหลักฐาน ตลอดจนการชี้แจงของ รฟท. ทั้งทางวาจา และเอกสารประกอบการนำเสนอ สรุปได้ว่าการกำหนดขอบเขตงาน ซึ่ง รฟท.อ้างอิงแบบโครงสร้าง รายละเอียด เทคนิควิธีการ และวัสดุจากงานที่กำหนดไว้เดิม ผลตรวจสอบไม่พบการดำเนินการที่เชื่อได้ว่า รฟท.ดำเนินการนอกเหนือจากขอบเขตงานแต่อย่างใด

 “รายละเอียดของงานติดตั้งป้ายเดิม  รฟท.ได้รายงานว่ามีการตรวจสอบและรับรองทางวิศวกรรม รวมทั้งมีการติดตั้งไปแล้ว ปรากฏว่ามีความปลอดภัยและแข็งแรงตามมาตรฐาน ดังนั้น การกำหนดขอบเขตการดำเนินการ และการกำหนดราคากลางของ รฟท.ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบได้” นายสรพงศ์กล่าว

นายสรพงศ์กล่าวอีกว่า คณะกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดย รฟท.อาจทบทวนเพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ และประหยัดงบประมาณให้มากที่สุด เช่น ทบทวนรายละเอียดทั้งวัสดุ เทคนิค ที่อาจเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้การออกแบบ และวิธีการจัดทำ ซึ่งการติดตั้งป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อครั้งนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการจัดทำ เทียบกับติดตั้งป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อครั้งก่อน ทบทวนค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน และจำนวนและเวลาที่ใช้งานของกระเช้าอีกครั้ง

 “รฟท.อาจพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ตัวอักษรเดิมสถานีกลางที่ติดตั้งอยู่ในปัจจุบันมาปรับปรุงเพื่อใช้ติดตั้งแทนที่จะทำขึ้นใหม่ทั้งหมด เนื่องจากตัวอักษรยังอยู่ในสภาพยังดี และนำมาปรับปรุงเหมือนอักษรใหม่ได้ รวมทั้งอาจทบทวนค่างานออกแบบที่น่าจะกำหนดอัตราส่วนของราคางานได้ต่ำกว่างานปกติ เนื่องจากเป็นงานที่ออกแบบไว้เดิมอยู่แล้ว อีกทั้งการทบทวนงานเผื่อเลือกที่อาจสามารถปรับลดได้ เช่น การทบทวนความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุมาปิดไว้ทดแทนกระจกในขณะที่มีการรื้อถอน เนื่องจากงานดำเนินการในช่วงฤดูหนาว และอาคารสถานีบางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีกระจกอยู่แล้ว เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดงบประมาณได้” นายสรพงศ์ระบุ

สำหรับประเด็นความถูกต้องของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงนั้น รฟท.ได้อ้างเหตุผลของการจ้างด้วยเหตุตามนัยมาตรา 56 (2) (ค) แห่งพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560 ที่กำหนดไว้ว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงเพียงรายเดียว หรือการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศไทย และไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้ คณะกรรมการฯ จึงต้องพิจารณาตรวจสอบว่าการจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงของ รฟท. เป็นไปตามเหตุผลและหลักการของมาตรา 56 (2) (ค) แห่ง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560 หรือไม่

“คณะกรรมการฯ เห็นว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ รฟท. ตามนัยมาตรา 56 (2) (ค) แห่ง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ แม้เป็นการใช้ดุลยพินิจตีความระเบียบกฎหมายในกรอบอำนาจหน้าที่โดยอาศัยเหตุและผลความจำเป็นตามที่เข้าใจ ซึ่ง รฟท.ได้ชี้แจงนั้นไม่ว่าถูกต้องหรือไม่ก็ตาม สมควรหารือผู้เชี่ยวชาญด้านพัสดุกรมบัญชีกลางให้ชัดเจน และควรศึกษาทบทวนวิธีการจัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสม รอบคอบ และสอดคล้องกับ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ โดยอาจพิจารณาแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักกฎหมายที่ควรให้ใช้วิธีการพิจารณาเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปเป็นลำดับแรกก่อน เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเปิดกว้าง ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นถึงความโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของประชาชน” นายสรพงศ์ระบุ

รักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่ากล่าวอีกว่า  คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ รฟท.พิจารณาทบทวนตรวจสอบกระบวนการสืบราคาให้เกิดความครบถ้วนชัดเจน และดำเนินการให้สอดคล้องกับคู่มือแนวทางการประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลาง และการคำนวณราคากลางเกี่ยวกับการขอจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ  ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0433.2/ว 206 ลงวันที่ 1 พ.ค.2562 ตามขั้นตอนต่อไป

 “ภายใน 1-2 วันนี้ คณะกรรมการฯ จะส่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงไปยัง รฟท. พร้อมทั้งข้อแนะนำในการดำเนินงาน ส่วน รฟท.จะดำเนินการตามข้อแนะนำของคณะกรรมการตรวจสอบฯ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ รฟท. แต่ รฟท.ต้องรายงานผลการทบทวน และข้อสรุปตามข้อแนะนำมายังคณะกรรมการฯ และกระทรวงคมนาคมโดยเร็วที่สุดอีกครั้งต่อไป” นายสรพงศ์กล่าว.

The post สรุป‘ป้าย33ล.’ไม่ทุจริต! กก.สอบชี้วิธีประหยัดงบ appeared first on .

ซื้อของออนไลน์ที่ shopee ช้อปสินค้าง่ายๆ ราคาถูก มีโปรโมชั่นมากมาย ☆ShopeeMall สินค้าของแท้ 100% คืนง่ายใน 15 วัน ส่งฟรีทั่วไทย.


Source link

from World eNews Online https://ift.tt/XFyAORB
via World enews

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home